วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ



          ช่วงเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ จะใช้จ่ายอะไรต้องคิดหน้าคิดหลังกันมากขึ้น วันนี้มีเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ที่สามารถทำกันเองง่ายๆ ไม่ต้องเสียสตางค์ แถมเป็นการนำขยะในครัว มาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย บางคนหัวใสนำมาวางขาย สร้างรายได้เสริมก็มี ดีกว่าอยู่เฉยๆ






          ผู้อ่านคนไหนอ่านแล้วคันไม้คันมืออยากลองก็ลงมือตามได้เลย  ว่าแล้วเรามาเรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพกันดีกว่า






          เริ่มจากทำความรู้จักกับน้ำปุ๋ยชีวภาพว่าคืออะไรกันก่อนเลย








          ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ เกิดจากการนำเอาเศษพืชผัก  ผลไม้ต่างๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยย่อยสลายธาตุอาหารต่างๆที่อยู่ในพืช ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้เป็นปุ๋ยบำรุงอย่างดี สำหรับพืชพรรณไม้ต่างๆ สามารถใช้แทนปุ๋ยเคมี จึงไม่เป็นพิษต่อทั้งคนใช้และสภาพแวดล้อม ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่เดี๋ยวนี้จะมีหลายครัวเรือนเริ่มจะทำน้ำปุ๋ยชีวภาพใช้กันแล้ว ถ้าอย่างนั้นจะรอช้าอยู่ทำไม ไปลองทำกันเลย




          วิธีทำปุ๋ยน้ำชีวภาพก็แสนจะง่ายดาย ใครๆ ก็ทำได้  ขอนำเสนอวิธีการทำของ ดร. อรรถ บุญนิธิ จากชมรมเกษตรธรรมชาติไทย กองพัฒนาการบริหารงานเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มาบอกเล่าให้พี่น้องได้นำไปปฏิบัติกัน ซึ่งท่านแนะนำไว้ดังนี้ 












อุปกรณ์ในการหมัก ได้แก่   
  1. ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท    2. ถุงใส่เศษอาหารที่ปิดสนิทได้   3. เศษอาหาร พืชผักจากครัวเรือนซึ่งต้องเป็นของสด ไม่เน่า หากเป็นแกงที่กินเหลือก็ควรเทน้ำออกก่อน         
  4. อุปกรณ์วัสดุสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลย คือ กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทุกชนิด




วิธีทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ    
1.นำเศษอาหารใส่ลงในถุง    2.คลุกด้วยกากน้ำตาลในอัตราส่วน 3:1 คือ เศษอาหาร
3.ส่วนต่อกากน้ำตาล 1 ส่วน โดยน้ำหนัก (หากเป็นเศษอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ควรเพิ่มน้ำตาลเพื่อให้การย่อยสลายดีขึ้น)      
3.เมื่อถุงเต็ม มัดปากถุงให้แน่น   
4.นำถุงลงใส่ในถังหมักแล้วทับด้วยของหนัก และปิดถังให้สนิท  
5.หมักไว้ 3-4 วัน จะได้น้ำสีเข้มๆ ดำๆ ซึ่งก็คือ ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เราต้องการนั่นเอง         
6.ถ่ายเฉพาะน้ำปุ๋ยชีวภาพลงในภาชนะพลาสติกปิดฝาให้แน่นเก็บไว้ใช้




 




ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เราได้ ถือเป็นน้ำสารพัดประโยชน์          
 - สามารถใช้บำบัดน้ำเสีย ทำให้เป็นน้ำดี    - ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในน้ำ          
 - ปรับสภาพของเสีย อย่างเศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ ขยะลดลง         
 - ใช้รดน้ำต้นไม้ ใช้ในการเพาะปลูกพืช   - ใช้ใส่ในน้ำให้สัตว์เลี้ยงกิน 
 - ใส่ตู้ปลาเพื่อย่อยสลายขี้ปลาและเศษอาหาร   - ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้ด้วย






          การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจึงถือเป็นการนำขยะจากครัวเรือนไปใช้ประโยชน์ ทำให้ขยะมีจำนวนลดน้อยลง และสามารถนำมาใช้กับงานการเกษตรของตนเองได้ หรือจะลองรวมกลุ่มช่วยกันทำ เผื่อเอาไปใช้ประโยชน์กับแม่น้ำลำคลองในชุมชน เป็นการช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชนได้อีกด้วย






วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การถักผ้าพันคอจากบล็อกไม้


          ความนิยมยังไม่ตกเลย สำหรับเจ้าบล็อกไม้ตะปูตัวเก่ง  ที่เหมาะที่สุดในยุคนี้เลย สำหรับใครที่ถักไหมพรมด้วยโครเชต์หรือนิตติ้งไม่เป็น  เจ้าบล็อกไม้ตะปูนี่แหละ ที่เป็นตัวเลือกอันดับหนึ่ง    แต่บางครั้งก็ยังเป็นที่แคลงใจสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานอะไรเลย จะถักเป็นไหม  เจอคำถามอย่างนี้บ่อยมาก ๆ  แม่ค้าก็เลยค้นหาวิธีการถักมาให้ดูกัน จะได้รู้ว่ามันง่ายมาก และบล็อกไม้ตะปูทำได้หลายอย่างมากกว่าที่คิด  แต่!!! บางสิ่งบางอย่างเราก็ต้องค้นหาและไขว่คว้ามาเองด้วยนะคะ  ถ้าหากเราถักผ้าพันคอเป็นแล้ว เราจะต่อยอดไปเป็นอย่างอื่น เช่น เสื้อถัก  หรืออื่น ๆ เราย่อมพัฒนาได้ บางอย่างก็ไม่ได้มีในหนังสือ แต่บางอย่างก็มี เช่นหนังสือลายถักจากบล็อคไม้ ทั้งเล่ม 1 และ เล่ม 2 ที่เมื่อศึกษาในคู่มือแล้ว สามารถทำเป็นแน่นอน

วัสดุอุปกรณ์




      1.  คู่มือ หรือหนังสือ ตอนนี้มีหนังสือเกี่ยวกับงานถักบล็อกไม้ออกมาวางจำหน่ายอยู่หลายสำนักนะคะ แต่ที่ทางร้านดอลลี่พลัส แนะนำ ก็คือ หนังสือลายถักผ้าพันคอไหมพรมด้วยบล็อกไม้   ที่ขายดีอันดับ 1 ของทางร้าน  ในเล่มนี้จะมีลายการถักผ้าพันคอไหมพรมทั้งหมด 20 ลาย  มีวิธีการพื้นฐาน สอนเข้าใจ มีเนื้อหาตั้งแต่การเริ่มงาน จนกระทั่งจบงาน






     
    2.  ไหมพรม  ใช้ได้หลายอย่างนะคะ ทั้งแบบเส้นเรียบ หรือแบบมีขน ส่วนปริมาณที่ใช้ ก็ขึ้นอยู่กับลายที่เราทำลายอะไร ส่วนใหญ่ ผ้าพันคอ ก็จะใช้ประมาณ 1-2 กลุ่ม (น้ำหนัก 100 กรัม/กลุ่ม)








           3.  บล็อกไม้ตะปู  จะมีหลายขนาด
           ขนาดเหมาะสำหรับถักผ้าพันคอ   15-17 หลัก
           ขนาดเหมาะสำหรับถักผ้าคลุมไหล่    32 หลัก
           ขนาดเหมาะสำหรับถักกระเป๋า หมอน  ผ้าห่ม   51 หลัก







            
        4.  ที่ควักหรือเข็มควัก  ทางร้านขอแนะนำตัวนี้นะคะ  เพราะใช้ควักได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถูกออกแบบมาเพื่องานบล็อกไม้โดยเฉพาะค่ะ  แถมยังมีเข็มพลาสติก แถมให้ด้วย สำหรับเก็บปลายไหมค่ะ  แต่ถ้าหากใครมีเข็มโครเชต์อยู่แล้ว จะใช้ตัวนั้นก็ได้ค่ะ ไม่ว่ากันนะคะ ประหยัดด้วย








วีดิโอการถักไหมพรมจากบล็อกไม้

เพื่อนๆคนไหนสนใจจะถักก็ลองคลิ๊กดู ค่ะ












การทำผ้าพันคอจากไหมพรม


       พูดถึงเรื่องงานถักไหมพรม ไม่ว่าจะเป็นงานถักโครเชต์แบบดั้งเดิมหรืองานถักนิตติ้ง ปัจจุบันได้มีงานถักหลากหลายเข้ามาที่ทำได้ง่ายกว่าโครเชต์หรือนิตติ้ง เพื่อเอื้อให้กับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์งานถักมาก่อน ถักได้ทั้งเด็กเล็ก ทั้งหญิงและชายสามารถทำได้ง่าย และปัจจุบันนี้ก็ได้เป็นวิชาหนึ่งในชั้นเรียนก็มี  นั่นก็ถือ งานถักจากบล็อกไม้  ที่ทำได้ง่าย และได้งานเร็ว ถักออกมาได้หลายอย่าง อาทิเช่น หมอน  เสื้อ ผ้าห่ม ผ้าพันคอ ตุ๊กตา กระเป๋า หรือใครจะไปต่อยอดเป็นอย่างอื่นก็ทำได้แล้วแต่ใครจะคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่ากัน



วัสดุ – อุปกรณ์ในการทำผ้าพันคอจากไหมพรม(Input)



ไหมพรมหลากสี(ตามความชอบ)
ขวดน้ำพลาสติกขนาดใหญ่

บล็อกทำผ้าพันคอ
น้ำยาปรับผ้านุ่ม
เข็มถักโคเชย์
ไม้ตะเกียบ
กะละมัง
กรรไกร
เตารีด
น้ำ


ขั้นตอนการทำผ้าพันคอจากไหมพรม (Process)การทำผ้าพันคอจากไหมพรมโดยใช้บล็อกทำผ้าพันคอ1. การนำบล็อกทำผ้าพันคอมาวางไว้ในแนวตั้ง จากนั้นนำไหมพรมที่เราเตรียมไว้มาเริ่มร้อยเข้าทางด้านข้างที่เป็นช่วงรอยต่อของบล็อกทำผ้าพันคอดังภาพข้างล่าง




2. เมื่อร้อยไหมพรมเข้าบล็อกเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มเอาไหมพรมมาพันลงบนบล็อก โดยพันสลับหว่างจำนวน 2 รอบ





3. เมื่อพันครบ 2 รอบแล้วให้เอามือซ้ายเป็นมือในการดึงไหมพรมที่ยังไม่ได้ร้อยไว้ข้างบนไหมพรมที่ติดอยู่บนบล็อกทำผ้าพันคอดังภาพ




4. จากนั้นใช้ไม้ตะเกียบตวัดไหมพรมเส้นข้างบนลงมาข้างล่าง





5. จากนั้นใช้ไม้ตะเกียบดึงไหมพรมเส้นข้างบนลงไปด้านล่างดังภาพ



6. เมื่อดึงลงแล้วให้ใช้ไม้ตะเกียบดึงไหมพรมเส้นข้างบนขึ้นไปคล้องกับห่วงด้านบนของบล็อกทำผ้าพันคอ





7. จากนั้นใช้มือซ้ายดึงไหมพรมดังภาพ





8. เมื่อทำเสร็จแล้วให้ทำอันต่อไปเรื่อยๆจนหมดไหมพรมหรือได้ความยาวตามที่ต้องการแต่ถ้ากรณีไหมพรมหมดก่อนแต่ความยาวยังไม่เป็นที่พอใจ ให้เอาไหมพรหมใจอื่นที่ต้องการมามัดเป็นปมธรรมดา แล้วถักตามวิธีการเช่นเดิม












ขั้นตอนการทำพู่ให้แก่ผ้าพันคอ


1. เอาไหมพรมมาพันกับขวดน้ำพลาสติกจำนวน 4 รอบหรือตามความยาวที่ต้องการ



2. จากนั้นใช้กรรไกรตัดไหมพรมออกมา




3. แล้วเอาไหมพรมมาทบกันแล้วใช้กรรไกรตัดออกเป็น 2 ส่วน




4. เมื่อตัดออกเป็น 2 ส่วนแล้ว เอาไหมพรมที่ตัดมาทบครึ่งแล้ววางลงบนที่ปลายผ้าพันคอ



5. จากนั้นใช้เข็มโคเชย์แหวกผ้าพันคอออกเป็นวงกว้างพอสมควร




6. จากนั้นจึงแล้วเอาไหมพรมที่ตัดไว้แหย่ลงไปในรู โดยใช้เข็มโคเชย์ช่วยในการยัด แล้วดึงปมออกมาดังภาพ



7. เมื่อดึงจุกไหมพรมออกมาแล้วขมวดเอาปลายของไหมพรมมาใส่ไว้ในรูของไหมพรมที่ดึงออกมาจากขั้นตอนที่ 6





8. เมื่อใส่ลงไปในรูแล้วก็ดึงไหมพรมออกมาดังภาพ




9. จากนั้นก็เริ่มทำอันใหม่ตามขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 เมื่อครบจนรอบผ้าพันคอทั้ง 2 ด้าน แล้วก็เอาไหมพรมมาเล็มตรงปลายให้เท่ากัน



10. เมื่อตัดเสร็จแล้วก็นำผ้าพันคอที่สำเร็จแล้วมาแช่ในน้ำที่ผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มประมาณ 30 นาที แล้วนำออกไปตากให้แห้ง




11. นำผ้าพันคอที่ตากแห้งดีแล้วมารีดเพื่อความสวยงาม


การวิเคราะห์กระบวนการทำผ้าพันคอ
ในช่วงขณะทำไหมพรมพบปัญหาคือ
1. การใช้เข็มถักโคเชย์ในการดึงการให้ดึงไม่สะดวก บางครั้งดึงแล้วลื่นหลุด จนต้องเริ่มทำใหม่ ซึ่งเสียเวลาในการทำ จากปัญหาตรงนี้ได้สอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่าแนะนำให้ใช้ไม้ตะเกียบในการดึงแทนเข็มถักโคเชย์ โดยเอาไม้ตะเกียบไปเหลาที่กบเหลาคินสอเพื่อให้ปลายแหลมง่ายต่อการดึง เมื่อนำมาใช้ผลปรากฏว่าใช้การได้ดีกว่าการใช้เข็มถักโคเชย์ เนื่องจากเนื้อไม้ไม่ทำให้ไหมพรมลื่นหลุดออกมา แต่เมื่อถักไปนานๆก็ทำให้ปวดที่ช่วงนิ้วกลางและนิ้วนางเลยได้เอาพลาสเตอร์มาติดไว้ที่นิ้วเพื่อกันการเสียดสี ซึ่งทำให้หายเจ็บ จากปัญหาที่กล่าวมานี้เนื่องจากทรัพยากร(Input)ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำจึงได้มีการประยุกต์และแก้ไขดังที่ได้กล่าวมา
2. การออกแรงในการดึงไหมพรหมที่ร้อยไม่เท่ากัน ทำให้ไหมพรมเบี้ยว ไม่มีความสม่ำเสมอของผ้าพันคอ แนวทางในการแก้ไขก็คือ การสังเกตช่วงการดึงของปมไหมพรหม ให้ดูว่าไหมพรหมรักที่จ้อเกี่ยวพอดี ไม่ดึงตึงหรือหย่อนจนเกินไป เพราะถ้าออกแรงดึงเท่ากันไหมพรหมจะมีปมที่มีขนาดเท่ากันไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ทำให้ได้ไหมพรหมที่มีขนาดเท่ากันทั้งผืน ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากกระบวนการ(Process)ที่ไม่สมบูรณ์ขาดทักษะและความชำนาญในการทำ